การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ

การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ(natural fabric dyes)

ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติ

1 สีย้อมผ้า
สีย้อมผ้า (Dyestuff) คือสีชนิดหนึ่งที่ใช้ย้อมผ้า มีทั้งสารอินทรีย์ และอนินทรีย์ สีย้อมบางชนิดจะละลายน้ำได้ บางชนิดต้องละลายในตัวทำละลายอินทรีย์เมื่อนำสีย้อมไปใช้ในกระบวนการย้อมจะทำให้โมเลกุลของสีย้อมซึมผ่านเข้าไปในโมเลกุลของเส้นใยโดยจะทำลายโครงสร้างผลึกของวัตถุนั้นชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดพันธะไอออนิก (ionic bond) หรือพันธะโควาเลนท์ (covalent bond) กับวัตถุที่ต้องการย้อมโดยตรง
เราสามารถแบ่งสีย้อมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สีย้อมธรรมชาติ (natural dyestuffs) และสีย้อมสังเคราะห์ (synthetic dyestuffs)
โดยในที่นี้จะพูดถึงสีย้อมสังเคราะห์
สีย้อมผ้าที่นิยมใช้ในประเทศไทย มี 5 ประเภท คือ
สีรีแอคทีฟ (Reactive Dye)
สีดิสเพิร์ส (Disperse Dye)
สีแอซิด (Acid Dye)
สีแวต (Vat Dye)
สีไดเร็ก (Direct Dye)
ซึ่งสีแต่ละชนิด จะมีความสามารถในการย้อมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสีชนิดนั้นๆ รวมถึงการย้อมลงบนผ้า หรือเส้นใยที่แตกต่างกัน

2.วัสดุที่นำมาใช้ย้อมผ้า

  1. แก้วมังกร
    แก้วมังกร หรือ Dragon fruit เป็นผลของต้นไม้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus undatus (Haw.) (เนื้อสีขาว เปลือกสีแดงอมชมพู) หรือ H. polyrhizus (Weber) Britt. & Rose (เนื้อสีแดงเข้มอมม่วง และเปลือกสีแดงอมชมพู) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์กระบองเพชร (CACTACEAE) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและประเทศใกล้เคียง และในประเทศไทยมีการปลูกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ซึ่งในระยะแรกผลที่ได้มีรสชาติไม่ค่อยอร่อย แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้มีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแก้วมังกรคือมีลำต้นเป็นปล้องสามเหลี่ยมแยกเป็น 3 แฉก มีลักษณะอวบน้ำ สีเขียวเข้มปนเทา ซึ่งเป็นส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปร่างไป ส่วนลำต้นที่แท้จริงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของแฉกทั้ง 3 ที่ลำต้นด้านนอกมีหนามเป็นกลุ่มๆ มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ดอกของแก้วมังกรเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก มีก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ส่วนของกลีบดอกจะอยู่ด้านบนของรังไข่ เมื่อบานมีลักษณะคล้ายปากแตร โดยจะบานในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลม มีเนื้อหลายเมล็ด (berry) ที่ผลมีกลีบ ภายในผลเมื่อผ่าออกจะมีเนื้อสีขาวขุ่น ชมพู แดง หรือแดงอมม่วง (แล้วแต่ชนิด) เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำ ลักษณะคล้ายเมล็ดงาดอกดาวเรือง
  2. ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่คุ้นตาคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นดอกไม้ปลูกง่าย สีสันก็สวยสดใสสะดุดตา ซึ่งนอกจากจะมีให้เห็นในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศก็รู้จักดอกดาวเรืองด้วยเช่นกันค่ะ โดยภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Marigold เนื่องจากมีสีเหลืองทอง ส่วนในชื่อวิทยาศาสตร์ก็จะเรียกกันว่า Tagetes erecta L. เป็นดอกไม้ในวงศ์ Asteraceae และนอกจากนี้ ในบ้านเรายังมีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่นด้วย โดยภาษาเหนือ หรือในภาคเหนือจะเรียกว่า ดอกคำปู้จู้ หรือในแถบแม่ฮ่องสอนจะเรียกว่า พอทู ส่วนถิ่นกำเนิดของดอกดาวเรืองเริ่มต้นที่ประเทศเม็กซิโกและแถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวท้องถิ่นปลูกไว้เพื่อบูชาเทพเจ้า ก่อนจะมีผู้นำไปขยายพันธุ์ในทวีปยุโรป แต่ต่อมาก็ได้ขยายพันธุ์ไปในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก โดยปัจจุบันก็มีอยู่ด้วยกันถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (American marigold), ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds), ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds), ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold), ดาวเรืองใบ (Foliage Marigold) นอกจากนี้ ดอกดาวเรืองยังเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งในอียิปต์ สเปน และฝรั่งเศส อีกด้วย
  3. ดอกอัญชัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน, แดงชัญ เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีม่วงอัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

3.วัสดุอุปกรณ์

  • ผ้าสำหรับย้อม
  • สารส้ม
  • ปูนแดง
  • ดอกดาวเรือง
  • ดอกอัญชัน
  • แก้งมังกร

4.ขั้นตอนวิธีการทำ

ผ้าย้อมสีจากดอกดาวเรือง

  • นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้น้ำเดือด จากนั้นตักดาวเรืองใส่ลงไปในหม้อ ต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
  • ใช้ผ้าขาวบางกรองเศษดอกดาวเรืองออกให้เหลือแต่น้ำ
  • นำหม้อน้ำดอกดาวเรืองมาตั้งไฟอ่อนๆ ให้น้ำมีความอุ่น จากนั้นเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย แล้วใส่ผ้าที่เราเตรียมไว้ลงไป ต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
  • นำผ้าขึ้นจากหม้อแล้วนำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 รอบ แล้วนำผ้าไปตาก


ผ้าย้อมสีจากแก้วมังกร

  • นำเปลือกของแก้วมังกรมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 30นาที
  • ใช้ผ้าขาวบางกรองส่วนที่ไม่ได้ใช้ออกให้เหลือแต่น้ำต้มแก้วมังกร
  • นำหม้อที่ต้มน้ำแก้วมังกรมาตั้งไฟอ่อนๆ แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย
  • จากนั้นนำผ้าที่เตรียมไว้ลงไปต้มประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
  • นำผ้าขึ้นจากหม้อแล้วนำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 รอบ แล้วนำผ้าไปตาก


ผ้าย้อมสีจากดอกอัญชัน

  • นำดอกอัญชัมาเด็ด แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด
  • นำหม้อน้ำอัญชันมาตั้งไฟอ่อนๆ ให้น้ำมีความอุ่น จากนั้นเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย แล้วใส่ผ้าที่เราเตรียมไว้ลงไป ต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
  • นำผ้าขึ้นจากหม้อแล้วนำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 รอบ แล้วนำผ้าไปตาก
การย้อมผ้าจากดอกดาวเรือง
การย้อมผ้าจากแก้วมังกร
การย้อมผ้าจากดอกอัญชัน

คลิปวิดีโอตัวอย่างวิธีการทำ

อ้างอิง

 เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2564. ภูมิปัญญาไทย. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. จากhttps://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/

   บุญชม ศรีสะอาด.  2553. การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่8).  กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

    Health.  2562.  สรรพคุณดีๆของแก้วมังกร.  สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2564.  จากhttps://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1164808/

    Navy.  2559.  ความรู้เกี่ยวกับสีย้อมผ้า(Dyestuffs). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2564.  จากhttp://thailandindustrial.blogspot.com/2016/09/dyestuffs.html

    Health.  2562.  สรรพคุณดีๆของแก้วมังกร.  สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2564.  จากhttps://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1164808/

Hello World!

Welcome to WordPress! This is your first post. Edit or delete it to take the first step in your blogging journey.